เมนู

อรรถกถาจุนทสูตร



จุนทสูตรที่ 5

มีวินิจฉัยดังต่อไปนี้ :-
บทว่า มลฺเลสุ ได้แก่ ในชนบท มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า มหตา
ภิกฺขุสงฺเฆน
ได้แก่ ชื่อว่า ใหญ่ เพราะใหญ่โดยคุณและใหญ่โดยจำนวน.
จริงอยู่ ภิกษุสงฆ์นั้น ชื่อว่าใหญ่ แม้โดยประกอบด้วยคุณพิเศษมีศีลเป็น
ต้น เพราะในบรรดาภิกษุเหล่านั้น ภิกษุผู้ล้าหลังเขาทั้งหมดก็เป็นพระ-
โสดาบัน ชื่อว่าใหญ่ ด้วยการใหญ่ โดยจำนวน เพราะกำหนดจำนวน
ไม่ได้. จริงอยู่ จำเดิมตั้งแต่เวลาปลงอายุสังขาร ภิกษุทั้งหลายผู้มาแล้ว
มาแล้ว ไม่ได้หลีกไปเลย.
บทว่า จุนฺทสฺส ได้แก่ ผู้มีชื่ออย่างนั้น. บทว่า กมฺมารปุตฺตสฺส
ได้แก่ บุตรของนายช่างทอง.
เล่ากันมาว่า บุตรของนายช่างทองนั้น เป็นคนมั่งคั่ง เป็นกุฏุมพี
ใหญ่ เป็นพระโสดาบัน โดยการเห็นพระผู้มีพระภาคเจ้า เป็นครั้งแรก
นั่นเอง จัดแจงพระคันธกุฎี อันควรแก่ก็ประทับอยู่ของพระศาสดา
และที่พักกลางคืน และที่พักกลางวันแก่ภิกษุสงฆ์ และจัดโรงฉัน กุฏิ
มณฑปและที่จงกรม แก่ภิกษุสงฆ์ ในสวนอัมพวันของตน แล้วสร้าง
วิหาร อันประกอบด้วยซุ้มประตู ล้อมด้วยกำแพง มอบถวายแก่
ภิกษุสงฆ์ มีพระพุทธเจ้าเป็นประมุข ซึ่งท่านหมายกล่าวไว้ว่า ได้ยินว่า
พระผู้มีพระภาคเจ้าประทับอยู่ในอัมพวันของนายจุนทะบุตรของช่างทอง
ใกล้เมืองปาวานั้น
ดังนี้.
บทว่า ปฏิยาทาเปตฺวา ความว่า ให้จัดแจง คือ ให้หุงต้ม.
บทว่า สูกรมทฺทวํ นี้ท่านกล่าวไว้ในมหาอรรถกถาว่า เนื้อสุกรทั่ว